การสอบเทียบเครื่องมือวัดมีความสำคัญอย่างไร

หมวดหมู่: บทความ1
 

What ia calibration ?

การสอบเทียบเครื่องมือวัด คืออะไร?  ทำไมต้องสอบเทียบเครื่องมือวัด?

          การสอบเทียบ (Calibration) เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผลการวัดของเครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเปรียบเสมือนหลักประกันที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต ฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือระหว่างประเทศ การสอบเทียบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือ ดั้งนั้นวัตถุประสงค์ของการสอบเทียบเครื่องมือวัดมีดังนี้

  • เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องมือวัดนั้น ๆ ว่ายังเหมาะสมกับ  วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
  • เพื่อให้ทราบค่าผลการวัดที่แท้จริงของเครื่องมือ และนำค่าแก้ (correction) ไปใช้งาน หรือไป ประเมินผลในกระบวนการผลิต
  • เพื่อนำผลการสอบเทียบที่ได้มายืนยันความใช้ได้ของเครื่องมือวัด
  • เพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือทำเกิดความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งานเครื่องมือวัด
  •  เพื่อบรรลุความกำหนดตามมาตรฐานระบบงานคุณภาพ ISO
 
 
 
 
 
 
images



images
 

How important is calibration?

 ความสำคัญของการสอบเทียบ

         ปัจจุบันการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นกระบวนการหนึ่งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ หรือไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานนั้นยังคงคุณภาพ และได้มาตราฐานถูกต้องแม่นยำ เหมาะสมแก่การใช้งานในกระบวนการผลิต เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่โรงงานกำหนด ซึ่งการสอบเทียบเครื่องมือวัด คือการเปรียบเทียบค่าของเครื่องมือวัดตัวนั้นๆ กับค่ามาตราฐานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ หรือมาตรฐานระหว่างชาติได้ โดยการสอบเทียบนั้นห้องปฏิบัติการสอบเทียบจะต้องรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty of measurement) ด้วยทุกครั้ง
        และในปัจจุบันทุกมาตรฐานสากลจะมีข้อกำหนดที่กล่าวถึงการสอบเทียบเครื่องมือวัดอยู่ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น ISO 9000, ISO 14000, ISO/TS 16949, มอก.18000 เป็นต้น 
 
 

Time to Recalibrate ?

 เมื่อใดที่ต้องสอบเทียบ

          มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าเครื่องมือวัดใดที่ต้องดำเนินการสอบเทียบ และจะสอบเทียบบ่อยเพียงใดพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า การสอบเทียบเครื่องมือวัดจะต้องทำเมื่อใดก็ตามที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ การกำหนดว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบบ้างอาจจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ ให้ตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจอ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบและอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องมั่นใจในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบตัวอย่างเช่น เรื่องของความปลอดภัย

images

01 กันยายน 2567

ผู้ชม 357 ครั้ง